Home > ขั้นตอนการปรับสถานะที่ไทย สำหรับผู้ที่จดทะเบียนสมรสที่นอร์เวย์

สวัสดีค่ะ วันนี้มาขอแชร์ขั้นตอนการปรับสถานะที่ไทย สำหรับผู้ที่จดทะเบียนสมรสที่นอร์เวย์ค่ะ – credit คุณNantidaporn Ruangchan

#หลังจดทะเบียนสมรสดำเนินการดังนี้
1. ยื่นออนไลน์ขอ «ทะเบียนสมรสฉบับ 5 ภาษา» (#Flerspråklig_vigselsattest หรือ #multilingual_certificate_of_marriage) จาก Skatt (เพื่อความง่ายและลดค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสารค่ะ เพราะมีภาษาอังกฤษด้วย เราจะแปลเองหรือให้ใครที่ไทยแปลให้ก็ได้เลยค่ะ ??) 
https://www.altinn.no/ 
https://www.skatteetaten.no/…/folkeregis…/ekteskap/ekteskap/

2. นำทะเบียนสมรสไปรับตราประทับ 2 ที่ตามลำดับต่อไปนี้ (ตามรูปข้างล่างค่ะ)
2.1. กระทรวงการต่างประเทศของนอร์เวย์, UD (เราสามารถส่งเอกสารไปทางไปรษณีย์ได้ค่ะ ใช้เวลาประมาณ 10 วัน) 
https://www.regjeringen.no/…/dokum…/legalisering-ud/id752911
2.2. สถานทูตไทยในออสโล
https://thaiembassy.no/การรับรองลายมือชื่อในเ

#การดำเนินการเอกสารที่ไทย
3. แปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาไทย (#เจ้าของกระทู้แปลเอกสารเองและยินดีให้คำแนะนำสำหรับคนที่ต้องการแปลเอกสารเองค่ะ ทักมาได้เลยนะคะ ??)

4. นำทะเบียนสมรสและเอกสารการแปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาไทยไปรับรองเอกสารและรับรองการแปลที่กงสุล
สถานที่รับรองเอกสาร: http://www.consular.go.th/…/…/87789-สถานที่รับรองเอกสาร.html
#ในกรุงเทพ ที่ MRT คลองเตย หรือ กงสุลแจ้งวัฒนะ **แต่ที่คลองเตยยังไม่มีบริการส่งเอกสารทางไปรษณีย์ค่ะ เราต้องไปรับเอกสารเอง) **เจ้าหน้าที่จะขอหนังสือเดินทางของสามีและสามีต้องลงลายมือชื่อในใบคำร้อง (#หรือเราสามารถส่งเอกสารไปรับรองทางไปรษณีย์ก็ได้เช่นกันค่ะ วิธีนี้ง่ายสะดวกและประหยัดเวลาดี ตามข้อมูลในเวบกงสุลเลยค่ะ http://www.consular.go.th/main/th/services/6441 )

5. นำเอกสารที่ผ่านการรับรองจากกงสุลไปยื่นเพื่อปรับสถานะในเขตหรืออำเภอของตนเองที่มีทะเบียนบ้านอยู่ โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้ค่ะ 
5.1 สามีพร้อมหนังสือเดินทางและสำเนา 1 ชุด
5.2 ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเรา
5.3 พยาน 2 คนพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน

6. เมื่อดำเนินการเอกสารเสร็จตามขั้นตอนเราจะได้ 1. #ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว 2. #หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล 3.#หนังสือสำคัญแสดงการตั้งชื่อรอง ในกรณีที่เราใช้นามสกุลเดิมเป็นชื่อรอง (เจ้าของกระทู้มีทะเบียนบ้านอยู่ที่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ **เจ้าหน้าที่ใช้เวลาทำเอกสารทั้งหมด 90 นาทีจ้าาา (นางบ่นตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มทำว่ามันซับซ้อน เราก็แค่รับฟังและยิ้มสวยๆพอค่ะ ?? ที่ใช้เวลานานเป็นเพราะทำเอกสารและพิมพ์ไม่คล่องมากกว่าค่ะ))

7. นำเอกสารตามข้อ 6 ไปทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่

8. นำหนังสือเดินทางเล่มเก่า บัตรประจำตัวประชาชนใหม่ พร้อมใบเปลี่ยนชื่อสกุลและชื่อรองไปทำหนังสือเดินทางใหม่ได้เลยค่ะ (**ถ้าเราซื้อตั๋วเดินทางแล้ว ต้องไปเปลี่ยนชื่อในตั๋วที่สายการบินนั้นๆก่อนเดินทางด้วยนะคะ)

#ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
#ในกรณีที่ต้องการแปลเอกสารที่นอร์เวย์ ดำเนินขั้นตอนดังนี้ค่ะ
1. แปลเอกสารเป็น ไทย อังกฤษ (ผู้แปลจะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศของนอร์เวย์ ซึ่งทางโนตารีจะมีฐานข้อมูลของผู้แปลอยู่แล้ว)
2. รับตราประทับจากโนตารี : tingrett/ tinghus (รับรองลายเซ็นต์ผู้แปล)
3. รับตราประทับจาก UD (รับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่จากโนตารี)
https://www.regjeringen.no/…/dokum…/legalisering-ud/id752911
4. รับตราประทับจาก สถานทูตไทย (รับรองลายมือชื่อของ Senior Adviser (UD))
https://thaiembassy.no/การรับรองลายมือชื่อใน
5. รับตราประทับจาก กรมการกงสุลกระทรวงต่างประเทศ
สถานที่รับรองเอกสาร ของกรมการกงสุล 
http://www.consular.go.th/…/…/87789-สถานที่รับรองเอกสาร.html
การรับรองเอกสาร
http://www.consular.go.th/…/19849-การรับรองเอกสาร-(Legaliza…
6. นำเอกสารที่ผ่านการรับรองจากกงสุล ไปดำเนินการที่เขตหรืออำเภอของตนเองที่มีทะเบียนบ้านอยู่

***#คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติกรณ์สถานทูตไทยในนอร์เวย์: ผู้ร้องอาจติดต่อสำนักงานเขต หรืออำเภอก่อนว่าต้องการตราประทับจากกรมการกงสุลหรือไม่ เพื่อความสะดวกของตัวผู้ร้องเอง เพราะบางอำเภอก็ไม่ได้ต้องการตราประทับจากกรมการกงสุล***